Tuesday, 7 May 2024

การเลือกใช้วัสดุ ที่ตอบโจทย์งานออกแบบสถาปัตยกรรม

ช่วงเย็น หลังวัน Present ใหญ่ ทีมสถาปนิกท่าทางอิดโรย สองสามคน มานั่งประชุมกันหลังจากได้ comment จากลูกค้า ถึงแม้ตัวแบบแปลน จะผ่านโดยไม่มีปัญหาอะไร แต่โจทย์ที่ลูกค้าให้เพิ่มเติม เป็นที่มาของการนั่งประชุมในวันนี้ ลูกค้าต้องการออกแบบอาคารสำนักงานใหญ่ ที่มีภาพลักษณ์ ความเป็น Landmark ของละแวกนั้น และมีความเป็น Fintech ที่สะท้อนถึงธุรกิจโบรคเกอร์ประกันภัยของตัวเอง

ถึงแม้ว่าลูกค้าไม่ได้ให้โจทย์นี้มาตั้งแต่แรก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะหลายครั้ง การทำงานของสถาปนิกกับลูกค้า เปรียบเสมือนการทำความเข้าใจโครงการไปพร้อมๆกัน การที่ลูกค้าสามารถสรุปความต้องการของตัวเองออกมาเป็น Keyword ได้ ย่อมหมายความว่าโจทย์ในการทำงานออกแบบนั้นชัดเจนมากขึ้น

“ สถาปนิกจะตีความคำว่า Landmark และ Fintech สำหรับโครงการนี้ยังไงดี ”

นี่เป็นโจทย์ ที่ค่อนข้างท้าทาย สำหรับโปรเจค ที่ผ่านการ Present จนเกือบจะ Final แล้ว ไม่มี Comment เรื่องผังการใช้งานอาคารแล้ว แต่ภาพลักษณ์ ยังไม่ถูกใจเจ้าของโครงการ

“ วันนี้พอแค่นี้ก่อนแล้วกัน พรุ่งนี้ว่ากันใหม่ ให้ทีม R&D เข้ามาประชุมด้วย ”

เช้าวันต่อมา การประชุมเป็นไปด้วยความเรียบง่าย หลังจากทีมสถาปนิก ได้เล่าที่มาของงาน ตั้งแต่ต้นจนจบแบบสรุปสั้นๆในที่ประชุม

R&D : ฟังดูเป็น Happy Problem นะครับ เพราะแก้โจทย์เรื่องนี้ได้ งานนี้ก็ Final แล้ว เริ่มทำ Design Develop for Tender Drawing ได้เลย ส่วนเรื่องภาพลักษณ์อาคาร คงต้องใช้วิธีเลือกวัสดุให้เหมาะสมเข้ามาช่วย

Architect : วัสดุที่ออกแบบไว้ ก็ตาม Function การใช้งานและภาพลักษณ์ของอาคารอยู่แล้ว มีความโดดเด่นออกมาจากอาคารในละแวกข้างเคียง

R&D : อะไรที่โดดเด่นจาก context รอบข้าง พออธิบายให้ฟังได้ไหมครับ

Architect : อาคารริมถนนละแวกนี้ ส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ที่เป็นตึกแถว และการใช้งานส่วนใหญ่คือตอนกลางวัน ดังนั้น การที่เราเลือกใช้วัสดุที่เป็นกระจกสูง และให้ Lighting ในเวลากลางคืน จึงทำให้เกิดความโดดเด่น เป็นที่จดจำได้ง่ายอยู่แล้วครับ เรื่องคำว่า Landmark นี้มีแนวความคิดตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว เพราะพื้นที่เดิมของโครงการ ก็มีภาพจำติดอยู่กับโครงการอยู่แล้ว เช่น หากเรียกแทกซี่แถวนั้น บอกว่าไปตึก “ศรีกรุง” คนขับส่วนใหญ่จะรู้จักและพาไปถูกที่

R&D : OK ครับ งั้น คำว่า Landmark น่าจะตอบโจทย์ได้พอสมควรแล้ว เราไป Research คำว่า “Fintech” กันต่อ

Architect : นั้นละครับ ปัญหาของการประชุมวันนี้ เพราะคำนี้มาทีหลัง ไม่ได้คิดไว้ก่อนเลย

R&D : จริงๆการออกแบบอาคารให้สะท้อนตัวตนของธุรกิจมันเป็นเรื่องปกติวิสัยของสถาปนิก เพียงแต่อาจจะใช้คำที่ต่างกันไป เรามาลองจัดระเบียบความคิดกันอีกที เผื่อจะมีไอเดียอะไรดีๆที่เพิ่มขึ้นมาก็ได้ครับ

R&D : คำว่า Fintech มาจาก Financial + Technology คือเทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าต้องเกี่ยวกับธุรกิจการเงิน ดังนั้น ภาพของอาคารที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงิน ก็คงหนีไม่พ้นธนาคาร ซึ่งหากจะพูดถึง Keyword ที่สื่อภาพลักษณ์ของธนาคารแล้ว น่าจะได้ 3 คำหลักๆคือ Financial, Trust, Technology

R&D : ของโครงการ “ศรีกรุง” เราสามารถถอด Keyword อะไรออกมาได้บ้าง ที่อยากจะสื่อถึงภาพลักษณ์น่ะครับ

Architect : ในธุรกิจประกันภัยสิ่งสำคัญอันดับแรกคือการดูแล เทคแคร์ลูกค้า หากสร้างความอุ่นใจให้กับลูกค้าได้ ความเชื่อมั่นอื่นๆก็จะตามมาเอง ส่วนเรื่องเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เรามองว่าเป็นเรื่องของเครื่องมือในยุคสมัยใหม่เท่านั้น หากจะให้ถอดเป็น Keyword อันดับหนึ่งก็คือ Takecare ที่เป็นหัวใจหลักของธุรกิจ และรองลงมาคือ Trust และ Technology ที่เจ้าของโครงการต้องการสื่อสารออกมา

R&D : ดูแล้วคำว่า Takecare จะสะท้อนตัวตนของธุรกิจได้มากกว่าคำว่า Fintech เสียอีกนะครับ

Architect : ใช่ครับ สำหรับงานนี้ ตัวอาคารถูกออกแบบให้มีความทันสมัย จากตัววัสดุ แต่ภาพรวม มันควรจะมีโทนอบอุ่นอยู่ในนั้นด้วย แสดงถึง Character ของธุรกิจ เป็นบทสรุปของภาพลักษณ์ที่โครงการนี้ต้องการ

การเลือกใช้ผนังกระจก และผนังอลูมอเนียมคอมโพสิท สีเมทัลลิก สื่อสารถึงความทันสมัยได้ด้วยคุณสมัติของตัววัสดุเอง แต่จะทำอย่างไรให้ภาพรวมของอาคารดูอบอุ่น เป็นกันเองมากขึ้น เพราะหลายครั้ง ที่วัสดุอย่างผนังกระจก และอลูมิเนียมคอมโพสิท ก็ทำให้อาคารดูหรูหราจนเกินไป ไม่รู้สึกอบอุ่นเป็นกันเอง ไม่เหมือนไม้หรือผนังปูน ที่คนทั่วไปรู้สึกใกล้ชิด และคุ้นเคยกับมันมากกว่า

R&D : กลายเป็นว่า วัสดุที่เลือกใช้ ให้ภาพลักษณ์ที่ขัดแย้งกับสิ่งที่สถาปนิกต้องการจะสื่อออกไปหรือครับ

Architect : ก็ไม่ขนาดนั้นครับ เพียงแต่อยากให้ความเนี๊ยบ ความทันสมัยของวัสดุ ดูเป็นพระรอง มากกว่าพระเอก ซึ่งจริงๆก็ทำไปแล้ว เช่นตัวผนังอลูมอเนียมคอมโพสิท เลือกใช้สีแบบเมทัลลิค เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อแสงตกกระทบในมุมที่ต่างกัน ช่วยทำให้ดู Soft ขึ้น และ การแบ่ง Pattern ก็ช่วยลดทอนความเป็น Mass ก้อนใหญ่ลง

ส่วนตัวกระจก เลือกใช้วิธีแบ่งความโปร่งใส และโปร่งแสง ในแต่ละโซนตาม Function การใช้งาน

R&D : ก็ดูลงตัวหมดแล้วนี่ครับ จากที่มาที่ไปทั้งการตีความในภาษาทางสถาปัตยกรรม มาจนถึงการเลือกใช้งานวัสดุ

Architect : ผมยังอยากลงรายละเอียดของกระจกมากกว่านี้ครับ ว่ามันมีกระจกแบบไหน ที่จะช่วยให้ตัวอาคารดู Soft ลงมากกว่านี้ เพราะตอนนี้ที่เราใช้กันประจำคือ กระจกใส กระจกโปร่งแสง (กระจกฝ้า) และกระจกเงา มันมีเทคโนโลยีกระจกอะไรมากกว่านี้ไหม ที่ทำให้งานออกแบบอาคารมันน่าสนใจมากขึ้น

R&D : ถ้ากระจกสวยๆสมัยใหม่ที่นิยมใช้กันมากขึ้น ก็คงหนีไม่พ้นพวกกระจกลอนต่างๆ หรือ พวก Fabric Glass ที่ให้ Effect ที่แปลกตา แต่ที่มีขายในเมืองไทย จะเป็นกระจกสำหรับงานตกแต่งภายในมากกว่า ไม่สามารถใช้เป็นผนังภายนอกของอาคารได้

สำหรับกระจกภายนอกที่ให้ Effect แบบนี้คือ Profilit U-Glass เป็นกระจกหล่อขึ้นรูปเป็นตัว U สามารถนำมาทำผนังภายนอกได้ ใช้ได้ทั้งแบบ 1 Layer หรือประกบกันเป็น 2 Layer ก็ได้ ในภาพตัวอย่างนี้คือของ Lambert จากเยอรมัน มีทั้งแบบใส พ่นทราย แบบลอน เพิ่มความหลากหลายในงานออกแบบผนังกระจกภายนอกได้เป็นอย่างดี

Architect : นี่มัน U-Glass นี่ครับ เคยเห็นใน Pinterest น้องๆเอามาเสนอ มี Supplier ในไทยเอาเข้ามาแล้ว แต่ราคาก็ไม่ธรรมดา เคยอยากใช้งาน แต่ตอนนั้นยังไม่มีโปรเจคที่เหมาะ

“แต่มันน่าจะเหมาะกับงานนี้นะ ผมจินตนาการภาพสุดท้ายของโครงการออกมาได้ลางๆแล้วละ”

R&D : งั้นปิดประชุมเลย แล้วผมรอดู Final Presentation เลยละกันครับ

Architect : สัปดาห์หน้า Design น่าจะจบครับ เดี๋ยวผมลองขอ Mockup ตัว U-Glass มา แล้วทดสอบสมมุติฐานเรื่องการให้ Lighting หน่อยเพื่อความมั่นใจ

R&D : OK ครับ สัปดาห์หน้าเจอกัน

จบไปอีก 1 วัน กับเรื่องราวใน Studio ออกแบบสถาปัตยกรรม ที่สถาปนิกเอง ทำงานหนักมากจนหลงลืมว่าตัวเองทำอะไรไปแล้วบ้าง ลืมที่จะจัดระเบียบความคิด และจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ

—- 1 สัปดาห์ ผ่านไป —-

Architect : ผมกลับไปทำ Diagram เพื่อ Recheck เรื่อง Keyword ต่างๆ ก่อนจะแปลงมันเป็นภาษาทางสถาปัตยกรรม ก็พบว่า พอจัดระเบียบความคิดดูแล้ว ถึงเข้าใจตัวเองมากขึ้น ว่าคิดอะไรอยู่ และไม่ต้องเป็นกังวลกับคำว่า Fintech ที่เพิ่มเข้ามาภายหลังเลย เพราะมันอยู่ในนี้อยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ใช่พระเอกนั่นเอง

Architect : U-Glass ทำให้ความเป็นผนังกระจกดูมีเสน่ห์มากขึ้น สามารถแบ่งลำดับของความโปร่งแสงได้ ทำให้ตัวอาคารดูมีมิติ และอ่อนโยนมากขึ้น อาคารจึงดูทันสมัยแต่อบอุ่น ตอบโจทย์ภาพลักษณ์ที่ “ศรีกรุง” ต้องการพอดี

R&D : จาก Happy Problem สู่ Happy Ending นะครับเนี่ย

คงต้องรวบรวมข้อมูล U-Glass ที่ใช้จริงแล้ว มาที่ Hongmat R&D หน่อยนะครับ อีกไม่นานคงมีคนสนใจเยอะ สมาชิกจะได้ไม่ต้องมานั่ง Research กันใหม่

สนใจสมัครสมาชิก Hongmat.com เพื่อใช้งาน Cloud Construction Materials Data ฟรี >>> คลิกที่นี่

ปล. เรื่องแต่งจากประสบการณ์งานออกแบบจริง (Base on True Design Experience)